เทคนิคลดขนาดไฟล์ Photoshop ให้เล็กลงเหลือนิ๊ดเดียว

Update

reduce-psd-file-size-11. เพิ่ม Layer ขาวไว้ด้านบนสุด

คาดว่าหลายๆ คนยังไม่รู้กับเทคนิคง่ายๆ นี้ พอเราทำงานเสร็จก็แค่เพิ่ม Layer ขาวเอาไว้ชั้นบนสุดของ Layer ที่เราทำมาทั้งหมดแค่นี้ก็จะลดขนาดไฟล์ได้มากโขเลยละ

 

2. ลบ Layer ที่ไม่ใช้ทิ้งไปซะ!!

Layer ว่างปล่าวที่เราสร้างขึ้นมามากมายเราควรจะลบทิ้งซะให้หมดเพราะมันเป็นสาเหตุหนึ่งของขนาดไฟล์ที่ใหญ่มากขึ้น

 

reduce-psd-file-size-2

3.Merge/Flatten Layers

Merge Layers สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความ Merge Layers ก็คือการเอา Layer ที่เราเลือกมารวมกันนั่งเอง วิธีนี้ใช้ได้ผลมากๆ แต่ข้อควรระวังคือ เมื่อเรา Merge Layers ไปแล้วเราจะแยกมันออกจากกันไม่ได้อีก ซึ่งมันจะมีปัญหาแน่ๆ ถ้าเกิดเราอยากจะแก้ไขมัน ทางที่ดีก่อนจะ Merge Layers ก็ควรจะดูให้ดีๆ นะครับ หรือเราควรจะสร้างไฟล์ .psd ขึ้นมาอีกหนึ่งไฟล์แยกออกมา โดยไฟล์นี้จะทำการ Merge Layers เพื่อความเบาของไฟล์ .psd และก็เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้สำหรับแก้ไข

 

reduce-psd-file-size-3

4.Apply Layer Masks

เมื่อเรา  Layer Masks ไป 1 ครั้งก็ต้องมี Layer เพิ่มขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราก็รวมมันไปซะเลย แต่ก็จะมีปัญหาเหมือนข้อข้างบนนะครับ มันจะแก้ไขลำบาก ข้อนี้ต้องระวังกันให้ดีๆ

 

reduce-psd-file-size-4

5.Crop

ขนาดของภาพมีผลต่อ ไฟล์ .psd มันเป็นเรื่องที่ควบคู่กัน ถ้าเราอยากจะลดขนาดของไฟล์ เราก็ต้องลดขนาดของภาพนั่นเอง

 

Screen Shot 2558-02-10 at 12.08.16 PM

 

เพิ่มเติมข้อมูลอีกนะครับคุณ Thanakorn Thongraksa ได้แนะนำมาครับ

6. rasterize layer ที่เป็น smart object

smart object ในที่นี้หมายถึง การที่เราลากภาพอื่นๆ มาใส่พื้นที่ที่เรากำลังทำงานอยู่ ภาพนั้นจะโดนแปลงเป็น smart object โดยอัตโนมัติ (หมายถึงการลากภาพใหม่เข้ามาเพิ่ม ไม่ใช่การลากวัตถุจากอีกไฟล์หนึ่งมาใส่) เพื่อรักษาคุณภาพของภาพนั้นให้สูงสุดเสมอ ฉะนั้นไม่ว่าเราจะย่อจนเล็กแค่ไหน แล้วมาขยายเพิ่มทีหลัง ภาพนั้นก็จะยังคมชัดอยู่เหมือนเดิม คล้ายเวกเตอร์ (แต่ถ้าขยายเกินขนาดจริงๆ ของมันภาพก็ไม่คมนะ) รวมถึงจะหมุน เอียงซักกี่รอบก็ไม่มีปัญหา (ถ้าเป็นแบบปกติทั่วไปลองหมุนภาพซัก 2 รอบก็เริ่มเละแล้ว) เหตุนี้ทำให้ PS เก็บข้อมูลตรงส่วนนี้ไว้ตลอดเวลา จึงทำให้ไฟล์ใหญ่ ดังนั้น หากเราคิดว่าจะไม่เปลี่ยนขนาดหรือหมุนภาพแล้ว ก็ทำการ rasterize เสีย เพื่อทำให้ PS ไม่ต้องเก็บข้อมูลตรงนี้ไว้ครับ

ทั้งนี้ พวก smart filter ก็เช่นกันครับ หลักการเดียวกันเลย คือเราสามารถเปลี่ยนค่าฟิลเตอร์ที่เราใช้ไปได้ตลอดเวลา โดยที่ภาพไม่เสีย ทำให้ PS เก็บข้อมูลตรงส่วนนี้ไว้ด้วย ถ้าโอเคกับมันแล้วก็ rasterize โลดเลยครับ

ลองคิดดูว่า ถ้าเราเอาภาพขนาด 18 ล้านพิกเซลมาย่อใส่ขนาด 800*600 พิกเซล โดยติด smart object และ smart filter ด้วย ไฟล์จะใหญ่เกินจำเป็นขนาดไหน (ถ้าเกิดต้องทำจริงๆ แบบเผื่อมีการขยายภายหลัง ก็ย่อลงมาให้มีขนาดที่คิดว่าคงไม่ขยายให้ใหญ่ไปกว่านี้แล้ว rasterize ครั้งนึงก่อน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น smart object อีกทีก็ได้ครับ)

ขอขอบคุณความรู้เพิ่มเติมจากเพื่อนๆ ด้วยนะครับ

 

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความนี้อย่าลืมไปอ่านบทความนี้กัน 6 สิ่งที่ Graphic Designer ต้องรู้

Untitled-4

photoshop-702x336-pin

 

 

ขอบคุณ เครดิต