10 กฎการดีไซน์ที่นักออกแบบไม่ควรฝ่าฝืน

Update

อาชีพนักออกแบบก็เหมือนอาชีพอื่นๆทั่วไปที่มาพร้อมกับกฏและวินัยบางอย่างที่ไม่ควาฝ่าฝืน และสำหรับนักออกแบบคงหนีไม่พ้นกฏของการออกแบบขั้นพื้นฐาน แต่ในบางทีนั้นนักออกแบบหลายๆคนก็ได้ทำลายกฏออกไปบ้าง เพราะว่ากฏบางกฏนั้นก็อาจจะต้องแหกบ้างในบ้างสถานการณ์ แต่การแหกกฏทุกครั้งเราควรจะต้องคิดให้ดีก่อนว่า การแหกกฏดังกล่าวนั้นจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น หรือ แย่ลง เพราะการจะทำลายกฏหรือฝ่าฝืนกฏนั้นก็จะมีวิธีการที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป

ตั้งแต่เรื่องการใช้ตัวอักษร การจัดวาง Layout รวมไปถึงเทคนิค Effect ต่างๆล้วนมีกฏพื้นฐานอยู่แล้ว การแหกกฏบางอย่างการจะทำได้หรือทำไม่ได้ก็ล้วนแล้วแต่สถานการณ์นั้นๆ แต่วันนี้เราจะมาดูกันว่ากฏพื้นฐานที่นักออกแบบไม่ควรจะแหกกฏเลยมีอะไรกันบ้าง

1. อย่าปรับช่องไฟเพี้ยน

1_Kerning1-662x331

การจัดช่องไฟที่ไม่ดี จะทำให้งานของเราดูดร็อปลงไปเยอะเลยทีเดียว ยิ่งงานไหนที่มี ข้อมูล (Text) ค่อนข้างเยอะการเว้นช่องไฟให้เหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะทำให้งานของเราดูสวยงามและอ่านได้ง่ายมากขึ้น การอ่านที่สบายตาและดูไม่รกไม่ชิดจนเกินไปคือเหตุผลของการเว้นช่องไฟให้เหมาะสมนั่นเอง


2. ความคมชัด ความชัดเจน สำคัญเสมอ

การจัดความคมชัดของงาน ขนาด หรือ การปรับความโปร่งใส (Transparency) การมองเห็นของมนุษย์นั้นอาจจะไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการออกแบบจะต้องคำนึงถึงการมองเห็นของทุกคนบนโลก ตัวหนังสือกราฟิกไม่ควรเล็กไปหรือใหญ่ การโปร่งใสควรจะปรับขนาดไหนถึงจะพอมองเห็นไม่ควรให้คนที่มาอ่านต้องเพ่งตา เพราะอาจจะทำให้คนที่มาดูนั้นเลิกดูงานของเราเลยก็ได้


3. ต้องจัด Layout ให้เหมาะสมมีลำดับขั้น

4_Hierarchy1-662x331

 

การลำกับ Text ให้อ่านง่ายและมีลำดับขึ้นจะทำให้งานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดลำดับขั้นให้เหมาะสมจะสามารถสร้างจุดสนใจของงานได้ดีกว่า เราสามารถจัดลำดับขึ้นความน่าสนใจของงานด้วยการใช้สี หรือ ขนาด ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานนั้นๆ สิ่งไหนที่สำคัญเราควรเน้นให้เด่นหรือใหญ่ สิ่งไหนสำคัญรองลงมาลองปรับให้เล็กลงตามลำดับขึ้น


4. ใช้ Grid เสมอ

7_Grid1-662x331

การใช้ Grid ถือเป็นขั้นตอนแรกๆของการทำงานออกแบบเลยก็ว่าได้ ก่อนที่จะเริ่มทำงานชิ้นใดชึิ้นหนึ่งเราควรจะทำ Grid ให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อให้การวางข้อมูลการจัดหน้ากระดาษมีระเบียบมากขึ้น การใช้ Grid จะทำให้งานธรรมดาๆของคุณดูมีประสิทธิภาพ สะอาดและดูเป็นระเบียบ เรียนรู้ Grid System ได้ที่ grappik.com/grid-system


5. อย่าฝ่าฝืนโจทย์หรือบรีฟ

8_Audience1-662x331

การออกแบบจะเริ่มต้นด้วยการรับบรีฟจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง หรือ แม้กระทั่งงานที่ทำเป็นงานส่วนตัว ล้วนมีจุดประสงค์ว่าตรงการสื่อสารไปยังผู้อื่น เราออกแบบไว้เพื่อสื่อสารให้คนทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจ การที่เราได้บรีฟมานั้นเราควรจะทำตามอย่างเคร่งคลัด ไม่ควรคิดเองทำเองเพราะอาจจะหลุดเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้ ตัวอย่าง โปสเตอร์สำหรับเด็กถ้าเราทำตามโจทย์ที่ได้มาอาจจะเป้นอย่างฝั่งขวา แต่ถ้าเราฝ่าฝีนหรือไม่อ่านบรีฟให้รอบคอบก็อาจจะออกมาเป็นแบบฝั่งซ้ายซึ่งไม่ตรงโจทย์และสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผิดพลาดไปได้


6. อย่าใช้ฟ้อนต์หลายตัว

การเลือกใช้ฟ้อนต์ในงานออกแบบเราควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะฟ้อนต์นั้นคือสิ่งสำคัญที่สุดในงานออกแบบเป็นตัวบอกข้อมูลและดึงความสนใจของคนได้ การออกแบบงานอะไรสักหนึ่งชิ้นควรเลือกใช้ฟ้อนต์แค่ 2 – 3 ตระกูลเท่านั้น ไม่ควรใช่ฟ้อนค์ที่หลากหลายจนเกินไป และควรเลือกฟ้อนต์ที่มีรูปลักษร์ใกล้เคียงกันส่งเสริมซึ่งกันและกัน ที่สำคัญที่อ่านง่ายไม่ลายตา


7. เลือกใช้ฟ้อนต์ในส่วนของข้อมูลให้อ่านง่าย

12_Display-Type1-662x331

ในส่วนของ Text Body หรือ ข้อมูลเราควรเลือกฟ้อนต์ที่สามารถอ่านได้ง่าย เพราะทักษะการอ่านและการมองเห็นของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราควรเลือกฟ้อนต์ที่ได้มาตราฐานมากที่สุดมาใช้งาน


8. สร้างเทรนด์หรือสไตล์ของตัวเอง

ในบางครั้งการออกแบบงานต่างๆก็จะมีแนวโน้มของเทรนด์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องตลอด แต่เทรนด์มาแล้วก็ไปหรือมาแล้วก็คงอยู่บางทัเราก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ สิ่งที่เราสำคัญที่สุดคือเราต้องสร้างสไตล์ของเราขึ้นมาให้เป็นเอกลักษณ์อย่าไปยึดติดกลับเทรนด์มาก หรือใช้เทรนด์ในบางช่วงมาผสมกับงานสไตล์ของเราก็สามารถทำให้งานของเรานั้นมีเอกลักษณ์และสามารถตามเทรนด์ได้อีกด้วย


9. อย่าใส่ Effect มากเกินไป

20_TooManyEffects1-662x331

งานออกแบบของแต่ละคนอาจจะไม่สไตล์การใช้ Effect หรือ เทคนิคที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือเรื่องที่ดี แต่เรื่องที่ดีและควรจะโฟกัสมากกว่านั้นนั่นคือการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายและสวยงาม จนบางครั้งเราอาจจะต้องตัด Effect หรือ เทคนิคต่างๆออกไปบ้างเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด ออกแบบงานให้เป็นกลางให้กลุ่มเป้าหมายเราทุกคนเข้าใจมากที่สุดนั่นก็เพียงพอแล้ว


10. อย่ายืดวัตถุจนเสียสเกล

13_Stretch-Type1-662x331

นี่คือกฏพื้นฐานเลยก็ว่าได้ เรื่องของการยืดขยายวัตถุต่างๆในงานออกแบบ ถ้าเรายืดขยายแบบไม่อิงสเกลเดิมจะทำให้งานออกแบบเสียรูปทรงและความสมดุลไปเลยก็ได้ ใส่ใจกับเรื่องรูปร่างและความสมดุลอย่าบิด อย่ายืดจนงานพัง เพราะฉะนั้นระวังให้ดีนักออกแบบหลายคนตกม้าตายเรื่องนี้มาเยอะแล้ว


Credit : canva.com