ไม่ว่าคุณจะเป็น Graphic Designer มือใหม่หรือเก่า นี่คือ 6 สิ่งพื้นฐานที่คุณจำเป็นต้องรู้
1. Raster และ vector
ภาพแบบ Raster (หรือบางคนเรียกว่าภาพ Bitmap) จะสร้างขึ้นมาด้วย จุด (pixels) จำนวนมากๆ มาต่อเรียงๆ กันเพื่อให้เกิดภาพขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นภาพที่คนใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถปรับแต่งได้ง่าย ไฟล์มีขนาดไม่มากนัก อย่างภาพที่เราถ่ายมาจากกล้องก็เป็นภาพแบบ Raster นั่นเอง แต่มันก็มีข้อเสียในเรื่องของความคมชัด ถ้าเราไปขยายขนาดภาพมากจนเกินไป ก็จะสูญเสียความคมชัดไป
ภาพแบบ Vector คำนี้ Graphic Designer คงได้ยินกันบ่อยๆ แน่นอน เพราะมันเป็นภาพที่สร้างจากโปรแกรมที่เราคุ้นๆ กันอย่าง illustrator ภาพแบบ Vector ถูกสร้างขึ้นโดยใช้จุดที่มีการกำหนด X และ Y ซึ่งต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวนจุดต่างๆ ซึ่งภาพประเภท Vector จะขยายให้ใหญ่ๆ หรือย่อให้เล็กๆ ได้โดยไม่ทำให้ความคมชัดลดลง ซึ่งนิยมเอาไว้สร้าง Logo (เพราะมันขนาดหรือย่อเท่าไหร่ก็ได้)
การเลือกภาพทั้ง 2 แบบไปใช้ก็แล้วแต่ชนิดงานที่เราต้องการนั่นเอง
2. CMYK and RGB
CMYK คือสีที่เกิดจากสี Cyan(สีฟ้า) , Magenta(สีม่วง) , Yellow(สีเหลือ) , Key(สีดำ – ที่ต้องใช้ตัว K เพราะตัว B จะไปซ้ำกับ RGB)
CMYK เป็นสีที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์ของพวกงานพิมพ์ เอกสาร นิตยสาร ใบปลิว โบรชัวร์ หรือทุกๆ อย่างที่ต้องใช้เครื่องพิมพ์ ในการพิมพ์ออกมา
RGB คือสีทางแสง ก็คือสีหน้าจอคอมพิวเตอร์เรานั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วยสี Red(สีแดง) Green(สีเขียว) Blue(สีน้ำเงิน)
ตอนที่เราเริ่มจะสร้างงานใหม่ๆ ที่ตัวโปรแกรมจะมีให้เราเลือกว่าจะใช้สี CMYK หรือ RGB ซึ่งก็ดูว่าเราจะใช้ทำงานอะไรนั่นเอง ถ้าเราทำงานที่ต้องมีการพิมพ์ออกมาก็ต้องใช้เป็น CMYM ซึ่งถ้าเราเลือกใช้ผิด ก็จะเกิดปัญหาสีเพี้ยน แต่ถ้าเราออกแบบ website ก็สามารถเลือกใช้ RGB ได้เลย เพราะ RGB ให้สีที่สดกว่า และมีโทนสีให้เลือกมากกว่า
3. DPI and PPI
สองอย่างนี้เป็นสิ่งที่คนส่วนมากมักจะสับสนกันซึ่งความแตกต่างของมันก็มีดังนี้เลย
DPI หรือ Dots Per Inch เป็นหน่วยตัวเลขของจำนวนจุดต่อนิ้วที่พิมพ์ออกมาของภาพโดยใช้เครื่องพิมพ์
PPI หรือ Pixels Per Inch เป็นหน่วยตัวเลขของ pixel ต่อนิ้วของภาพที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
สรุปง่ายๆ คือ DPI คืองานพิมพ์ , PPI คือหน้าจอคอมพิวเตอร์
สำหรับใครที่ต้องการจะสร้างงานที่ต้องพิมพ์ขึ้นมา ก็ควรใช้ 300DPI เพราะเป็นเหมือนมาตรฐานสำหรับงานพิมพ์ภาพที่คมชัดที่สุด
สำหรับ PPI เมื่อเราปรับ (เช่นใน Photoshop) เรายิ่งปรับมาก เวลาเราขยายภาพ ก็จะสูญเสียรายละเอียดของภาพน้อยลงนั่นเอง และสมัยนี้หน้าจอก็มีการรองรับ PPI สูงๆ เช่น จอ Retina ที่ต้องใช้ PPI ที่สูงกว่าปกติเพื่อความคมชัด แต่เราก็ต้องระวังนะครับ เพราะเมื่อปรับ PPI สูงๆ ก็เท่ากับขนาดของไฟล์ PSD ที่มากตามไปด้วย
4. Typography
เรื่องนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ Graphic Designer ควรจะทำความเขาใจกับมันให้มากๆ เลยแหละ เพราะ Typo แต่ละชนิดก็สื่อความหมาย สื่ออารมณ์ที่ต่างกันไป ยกตัวอย่าง Typo ที่เป็นลายเส้นหรือตัวเขียน ก็เหมาะที่จะใส่ลงไปในงานที่สนุกๆ คนดูอาจจะเป็นวัยเด็กๆ หรือ Typo ประเภทที่มีเชิง (Serif) ก็เหมาะกับงานหรูๆ แม้แต่ความหนาของตัว Typo เองก็บงบอกความหมายได้มากเช่น ตัวหน้า (bold) จะเหมาะกับการเป็น headline
5.Grids คำสั่นๆ ที่ใช้กันยากเหลือเกิน
จริงๆ แล้ว Grids นั่นเป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับงานออกแบบแต่ Graphic Designer มือใหม่บางคนไม่ยอมที่จะใช้มัน จริง Grids นั่นสร้างมาเพื่อให้งานของเราเป็นระเบียบ อย่างเช่นขอบหน้าของงาน หรือแม้แต่ Typo ต่างๆ ที่เราต้องการจะจัดให้ตรง อย่างใน InDesign ก็จะใช้ Grids ในการจัด column ให้ตรงกัน ในการออกแบบ website ก็ต้องใช้ Grids ในการจัดหน้าของเว็บไซต์ให้ได้ตาม Grids เพื่อความสะดวกรวดเร็วเวลาที่ programer นำไปทำต่อ สรุปแล้ว Grids นั่นสำคัญเวลาเราจัด composition การจัดความ balance ให้กับ Typo หรือรูปภาพในงานออกแบบเรานั่นเอง
6. Logo design vs branding
logo ที่ดีจะมีพลังในการสร้างสิ่งมาต่อยอดมากมาย สามารถสร้าง Branding ที่สวยงามให้ออกมาง่ายๆ (ถ้า logo มีจุดเด่นมากพอนะ) logo จะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับบริษัท กับสินค้นของเราได้มาก ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายมากของ Graphic Designer เพราะเราจะต้องกลั่นกรองบริษัทของลูกค้าทั้งบริษัท ให้ออกมาอยู่ใน logo เพียงแค่ตัวเดียว ต้องนำความหมายทั้งหมด มาใส่ใน Graphic เล็กๆ ชิ้นเดียว logo ที่ดีจะต้องสามารถใช้งานได้ยาวนาน ลองสังเกตุ Brand ใหญ่ๆ จะมีการปรับเปลี่ยน logo น้อยมากอาจจะประมาณ 10 ปีต่อครั้ง เวลาจะสร้าง logo ขึ้นมาหนึ่งชิ้นควรเริ่มจากการหาจุดเด่นของ Brand ให้ได้ซะก่อน ยกตัวอย่าง London Underground ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีมาอย่างยาวนาน
จบแล้วนะครับสำหรับสิ่งที่ควรรู้ อย่าลืมไปอ่านบทความอื่นๆกันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก creativebloq