ทักษะที่นักออกแบบรุ่นใหม่ควรเรียนรู้ในปี 2018

Update

หลังจากเรียนออกแบบจบจนทำงานถึงทุกวันนี้เวลาก็ผ่านเลยมาหลายปี ทักษะการทำงานหลังจากเรียนออกแบบจบจนถึงปัจจุบันคงจะเพิ่มมาไม่มากก็น้อย นักออกแบบยิ่งประสบการณ์และทักษะการทำงานยิ่งเยอะเงินเดือนยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

แต่ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาวงการสื่อและวงการออกแบบมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สื่อ Social Media, Website, Interactive เข้ามามีบทบาทกับสังคมปัจุบันอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง เมื่อก่อนเราต้องออกแบบโปสเตอร์ไปแปะกำแพงเพื่อโปรโมทงานกิจกรรม แต่ในปัจจุบันสื่อโปสเตอร์ได้ลดน้อยลง สิ่งที่เพิ่มขึ้นจะเป็น Artwork บน Facebook หรือ IG

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงเราควรเปลี่ยนตามหรือไม่?

ในปัจจุบันเราก็ได้เห็นการล้มหายของบริษัททำนิตยสาร ทีวี หรือบริษัทรุ่นเก่าๆมากมายที่ไม่ได้ปรับตัว แต่ในฐานะนักออกแบบเราก็ยังคงเป็นผึ้งงานที่สำคัญของบริษัทหรือธุรกิจต่างๆอยู่เสมอเราไม่จำเป็นต้องปรับตัวก็ได้เพราะศาสตร์แห่งการออกแบบก็ยังคงเป็นศาสตร์เดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

แต่ในธุรกิจสมัยใหม่นั้นศาสตร์ของการออกแบบอาจจะยังไม่เพียงพอในการทำงานให้ตรงตามเป้าหมาย ถ้าหากเราต้องการผลักตัวเองให้ทักษะและเงินเดือนสูงขึ้นแบบรวดเร็ว เราควรศึกษาทักษะของนักออกแบบสมัยใหม่ที่ในปี 2018 ต้องการ


1. เรียนออกแบบ UX

เมื่อพูดถึง UX (User Experience) หลายคนคงจะนึกถึงนักออกแบบสายเว็บหรือไม่ก็นักออกแบบสายแอพพลิเคชั่น ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเท่าไหร่ถ้าจะคิดถึงแค่สองสายนั้นเพียงอย่างเดียว

เรียนออกแบบ

UX Design ไม่ใช่ทั้งนักออกแบบกราฟิกหรือนักออกแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น แต่ UX Design คือเรื่องราวของ Human Behaviour (พฤติกรรมมนุษย์) ซึ่งมันเป็นสิ่งที่นักออกแบบทุกสาขาควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อที่จะได้ทำงานออกมาตอบโจทย์กับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราให้ได้มากที่สุด มากกว่าความสวยงามคือใช้งานง่ายและทำให้ลูกค้าของเราประทับใจให้มากที่สุด


2. เรียนรู้พื้นฐานการ Code

นักออกแบบสายเว็บในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่คิวทองกันสุดๆ เพราะทุกธุรกิจเริ่มหันมาทำเว็บไซต์กันมากขึ้น แต่ข้อเสียของนักออกแบบเว็บไซต์มากกว่า 50% ไม่สามารถเขียน Code กันได้ นั่นเลยเป็นจุดบอดที่ทำให้เราไม่สามารถจบงานได้เพียงตัวคนเดียว

เรียนออกแบบ

แต่ถ้าจะให้ไปเรียน Code กันตั้งแต่เริ่มก็คงไม่ไหว เอาเป็นว่าแค่พอศึกษาเบื้องต้นแก้สี แก้ฟ้อนต์ แก้ HTML/CSS แบบง่ายๆได้ก็เพียงพอแล้ว เพราะอย่างน้อยเราก็สามารถแก้งานจาก Developer ได้ในตอนที่เค้าไม่อยู่

ถ้าหากอยากจะลองสร้างเว็บไซต์แบบไม่เขียน Coding เลยก็มีหลายตัวเลือกให้ได้ใช้งานไม่ว่าจะเป็น WordPress หรือ Adobe Muse CC ก็สามารถทำเว็บแบบง่ายๆออกมาใช้งานได้อย่างไม่ยากเย็นนัก


3. เรียนรู้โปรแกรมการออกแบบใหม่ๆ

นอกเหนือจากการเรียนออกแบบการเรียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบก็สำคัญไม่น้อย ถ้าให้พูดถึงเรื่องโปรแกรมออกแบบที่ใช้กันบ่อยหลายคนก็คงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า Photoshop, Illustrator, Indesign แต่ในยุคนี้ Adobe ไม่ใช่แค่บริษัทเดียวที่คิดค้นโปรแกรมสำหรับการออกแบบ

เรียนออกแบบ

หลากหลายบริษัทผลิตโปรแกรมออกมาให้เราได้ใช้งานมากมาย เช่น Sketch นักออกแบบสาย UI/UX ก็คุ้นเคยกันดี หรือ Affinity โปรแกรมออกแบบหน้าใหม่ที่หลายคนให้ความสนใจ และอีกหลากหลายโปรแกรม

ทุกโปรแกรมมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่จะทำแค่นั้นก็สามารถทำให้เราจบงานของเราได้เร็วขึ้น


4. ทักษะการแก้ปัญหา

นอกเหนือจากการเป็นนักออกแบบ การผลักตัวเองให้เป็นนักแก้ปัญหาก็เป็นอีกทักษะที่น่าสนใจ เมื่อโลกยุคติจิตอลทุกอย่างมาไวไปไว การที่จะต้องมานั่งรุมแก้ปัญหาเล็กเพียงปัญหาเดียวอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนั้น

เรียนออกแบบ

บางปัญหาหากเรามองดีๆมันจะมีทางแก้เสมอ แต่ติดอยู่ที่เวลามีปัญหาเราจะเรียกทีมมาช่วยแก้มาช่วยตัดสินใจเราไม่กล้าที่จะตัดสินใจหรือหาทางแก้ไปก่อน ถ้าครั้งนี้แก้ได้ครั้งต่อไปเราจะมั่นใจหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมทีมก็จะไว้ใจกันมากขึ้น และทำให้เราเป็นมากกว่าแค่นักออกแบบ


5. เรียนออกแบบสื่อ Social Media

แทบจะทุกแบรนด์หรือทุกธุรกิจต่างๆในนี้ต้องมีสื่อ Social Media เอาไว้ประชาสัมพันธ์หรือลงขายสินค้าและบริการต่างๆ เช่น Facebook, IG, Twitter และ Youtube นักออกแบบหลายคนต้องปรับตัวเองมาออกแบบ Artwork เพื่อลงในสื่อเหล่านี้

เรียนออกแบบ

แต่ในทุกๆสื่อจะมีข้อกำหนดในการลงรูปภาพหรือการออกแบบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าทำได้ตามกฏก็จะมีคนเห็นเยอะ ถ้าทำไม่ได้ตามกฏคนก็จะไม่เห็น การศึกษารายละเอียดสำหรับการออกแบบบนสื่อ Social Media นั้นถือว่าสำคัญกับแบรนด์มากๆเพราะคนกว่า 70% ใช้สื่อ Social Media กันเกือบหมดแล้วและแนวโน้มไม่ได้มีการลดลงเลย