Checklist ทำเว็บไซต์ใหม่ให้ดี ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

Update

ในตอนนี้หลายธุรกิจใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน โดยเฉพาะในตลอดเวลาที่ โควิด-19 กำลังแพร่ระบาดอย่างไม่รู้จบจนกลายธุรกิจต้องปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลาจึงต้องหันมาหาช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น เมื่อเว็บไซต์ก็เหมือนหน้าร้านที่อยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้การมีเว็บไซต์ที่ดี มีหน้าตาที่สวย บอกเล่าตัวตนของธุรกิจออกมาได้ การทำเว็บไซต์ใหม่จึงเป็นตัวเลือกที่หลายธุรกิจกำลังทำ วันนี้เราจะมาดูกันว่าวิธีที่ธุรกิจจะมีเว็บไซต์ที่ดีสักหนึ่งตัวจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และเราควรจะต้องโฟกัสอะไรบ้างในการจะเริ่มต้นทำเว็บไซต์ในยุคที่ไม่ว่าธุรกิจไหนก็ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองจาก Checklist ทำเว็บไซต์ใหม่

ประโยชน์ของการมีเว็บไซต์

  • มีเว็บไซต์เหมือนมีหน้าร้านบนโลกออนไลน์ให้ลูกค้าได้พบเจอ ได้เลือกสินค้า ได้รู้จักบริการของเรา ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดเพราะเว็บไซต์ทำให้ลูกค้า “เจอ” คุณในโลกออนไลน์ จากสถิติที่ผ่านมาในช่วงโควิด-19 หลายเว็บไซต์มีจำนวนผู้เข้าชม (Website Traffic) เพิ่มสูงขึ้น เพราะพฤติกรรมของลูกค้านั้นเปลี่ยนไปเพราะโควิด-19 การใช้ชีวิตแบบ New normal ทำให้ลูกค้ามองหาช่องทางในการเลือกซื้อแบบใหม่ๆ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดี บอกเล่าตัวตนของธุรกิจผ่านหน้าตาของเว็บไซต์ เมื่อการมีออฟฟิศหรือหน้าร้านก็ต้องตกแต่งในสวยงาม การมีเว็บไซต์ก็เช่นกันเพราะคุณจะต้องออกแบบเว็บไซต์ให้สวย ดูดี และที่สำคัญจะต้องบอกเล่าความเป็นตัวคุณออกมาได้ผ่านทางรูปภาพ ข้อความ การมีเว็บไซต์ที่ดีต้องใส่ใจกับดีไซน์ของเว็บไซต์ด้วย
  • การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์แผนการตลาดได้ เพราะเว็บไซต์มีเครื่องมือหลากหลายที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลอันหลากหลายของผู้ใช้งานเพื่อนำมาวิเคราะห์มองหาโอกาศเพิ่มเติมในอนาคต
  • ควบคุม ดูแล จัดการ เพราะเว็บไซต์เป็นของคุณเอง บางทีการพึ่งพา Platform อย่าง Social มากเกินไปก็มีข้อเสียคือคุณไม่สามารถจัดการทุกอย่างได้ บางวัน Facebook ก็ลดการมองเห็นลงหรือปรับกฎเกณฑ์ใหม่จนทำให้คนแทบจะไม่เห็นข้อมูลของคุณ
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือ ในการทำเว็บไซต์เป็นเหมือนการสร้างตัวตนของธุรกิจ คุณสามารถใส่ข้อมูลที่เสริมความน่าเชื่อถือลงไปในเว็บไซต์ได้เช่น ใส่ข้อมูลประวัติความเป็นมา ใส่ข้อมูลทีมงานในองค์กร ใส่ข้อมูลสถานที่ตั้งของบริษัทหรือแม้แต่การจดโดเมน (Domain) ที่มีความน่าเชื่อถือสูงเช่น .co.th

Checklist ทำเว็บไซต์ใหม่ให้ดี ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

Checklist ทำเว็บไซต์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
Checklist ทำเว็บไซต์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

1. จัดเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน

หลายครั้งที่เรามักจะต้องเสียเวลาในการจัดเตรียมข้อมูลที่จะนำขึ้นไปแสดงผลบนเว็บไซต์เป็นเวลานาน หลายครั้งในการทำเว็บไซต์ใหม่เราก็ไม่รู้ว่าควรจะต้องมีข้อมูลอะไรบ้างแสดงอยู่บนเว็บไซต์ดี โดยปกติแล้วเว็บไซต์ธุรกิจมักจะมีข้อมูลสำคัญที่คล้ายกัน สำหรับข้อมูลที่สำคัญในการทำเว็บไซต์ใหม่ที่ต้องมีคือ

  • ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท องค์กร ธุรกิจ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
  • ข้อมูลช่อทางการติดต่อ

สำหรับข้อมูลด้านบนจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เว็บไซต์ทุกเว็บไซต์จะต้องมี เป็นเหมือนข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ใช้งานจะต้องเห็นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและสื่อสารข้อมูลของธุรกิจออกมา แต่เรายังเพิ่มข้อมูลบางส่วนเข้าไปได้ด้วยเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับทีมงาน บทความที่เราเขียนขึ้นมา ข้อมูลช่องทางในการซื้อสินค้า

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายธุรกิจมองข้ามไปจะเป็นในส่วนของรูปภาพที่จะนำมาใช้งานบนเว็บไซต์ที่จะต้องวางแผนกันให้ดีว่าจะหยิบเอารูปภาพจากไหนมาแสดง หลายที่ไม่ได้มีการถ่ายภาพเตรียมเอาไว้ก็อาจจะต้องมีการถ่ายภาพเพิ่มเติมทั้งภาพสินค้า ภาพบริษัท ภาพทีมงาน หรือหลายเว็บไซต์ที่เราทำทางลูกค้าไม่ได้มีรูปภาพที่สวยก็จะมีการซื้อภาพจาก Stockphoto มาใช้งานก็ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานและงบประมาณในการถ่ายภาพลงได้

2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ

ทุกครั้งก่อนทำเว็บไซต์ใหม่ที่ที่มองข้ามไม่ได้คือการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายมองหาสิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ เพราะกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน มีวิธีการใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เหมือนกัน เว็บไซต์ที่ดีจึงต้องรองรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเราได้ ทุกคนต้องใช้งานได้ง่าย เหมือนเรากำลังเดินเข้าร้านขายของแต่มองหาสินค้าที่ต้องการไม่เจอเสียที การจัดกลุ่มข้อมูล จัดกลุ่มสินค้าและเพิ่มเครื่องมือต่างๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญ เว็บไซต์ที่ดีผู้ใช้งานจะต้องหาสิ่งที่เขาต้องการได้ไม่ยาก การจัดวางข้อมูลจะต้องไม่ซับซ้อน อ่านง่ายหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย

3. วางโครงสร้างของเว็บไซต์ (Sitemap)

แต่ละธุรกิจนั้นแตกต่างกันทำให้จำนวนหน้าเว็บไซต์ก็แตกต่างกันด้วย การจัดทำโครงสร้างเว็บไซต์ (Sitemap) นั้นทำขึ้นเพื่อที่เราจะมองภาพรวมของเว็บไซต์ได้ว่าต้องมีหน้าข้อมูลอะไรบ้าง รวมไปถึงมีระบบอะไรบ้างด้วยถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่ธุรกิจและบริษัททำเว็บไซต์จะต้องนำมาพูดคุยกัน การวางโครงสร้างที่ดีเป็นเหมือนการวางรากฐานของเว็บไซต์ที่ดีด้วย

4. เลือกระบบจัดการเว็บไซต์ที่เหมาะสม

ระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Content Management System) นั้นมีหลายระบบให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความต้องการของตัวเว็บไซต์เอง โดยปกติระบบจะถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการ (Requirement) ที่ตัวเว็บไซต์จะต้องทำได้ซึ่งจะมีความยาก-ง่าย แตกต่างกันไปเป็นอีกหนึ่งจุดที่ต้องโฟกัสให้ดี เพราะระบบที่ดีจะต้องมีการจัดการเนื้อหาที่ง่าย รวมไปถึงดูแลต่อในอนาคตที่ง่ายไม่สร้างปัญหาให้กับผู้ดูแล การมีเว็บไซต์ก็เหมือนมีรถยนต์เพราะต้องมีการดูแลรักษาให้สม่ำเสมอเพื่อให้ใข้งานได้ในระยะเวลาที่นานมากขึ้น ไม่สร้างปัญหาให้กับผู้ดูแล

5. มองหาช่องทางในการเพิ่มคนเข้าเว็บไซต์

ทำไมการมีคนเข้าเว็บไซต์จึงสำคัญ เราลงทุนทำเว็บไซต์มูลค่าหลายแสนบาทแต่มีผู้ใช้งานหลักสิบ สร้างรายได้ให้บริษัทหลักพัน ถ้าอ่านประโยคที่พิมพ์หลายคนคงมองแล้วว่าในการทำเว็บไซต์นั้นไม่คุ้มค่า ในการทำเว็บไซต์ใหม่จะไม่ได้จบแค่เพียงทำให้เว็บไซต์นั้นออนไลน์ให้ผู้ใช้งานนั้นใช้งานได้ แต่จะต้องวางแผนด้วยว่าจะทำอย่างไรให้เว็บไซต์นั้นมีคนเข้ามาเห็นสินค้าและบริการของเรา

ลองอ่าน วิธีเพิ่มคนเข้าเว็บ ให้เติบโต 10X เพื่อช่วยเพิ่มยอดให้ธุรกิจ ได้ที่บทความนี้แล้วคุณจะพบกับหลายช่องทางในการเพิ่มคนเข้าเว็บไซต์

แต่สิ่งที่คุณจะต้องรู้ในบทความนี้คือ ในทุกช่องทางที่จะหาคนเข้าเว็บไซต์ คุณจะต้องวางโครงสร้างของเว็บไซต์เอาไว้ให้ดี ไม่ว่าบทความคุณจะดีแค่ไหนแต่ถ้าโครงสร้างของเว็บไซต์นั้นไม่ดี มีการวาง Keyword ที่ไม่ถูกหลักการก็เป็นการยากที่เว็บไซต์ของคุณมีประสบผลสำเร็จ

6. เตรียมความพร้อมเรื่อง PDPA

กฎหมาย Personal Data Protection Act คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่คุ้มครองการนำข้อมูลไปใช้ ตรงนี้เป็นอีก 1 จุดที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป้าหมายของเว็บไซต์นอกจากการให้ผู้ที่สนใจในธุรกิจเข้ามาเยี่ยมชมการเก็บช้อมูลทั้ง Demographic Data หรือ Personal Data ก็คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เราได้รู้จักลูกค้ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งข้อมูลที่ได้มายังสามารถนำไปทำ Lead Generation กระตุ้นยอดขายทางการตลาดออนไลน์ได้อีกด้วย

การทำ PDPA แต่ละเว็บไซต์จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไปโดยอยู่ที่ฟังก์ชั่นต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เช่น หากมีการ Tracking Demographic Data จาก Google Analytic ก็จะต้องมี Cookies Consent หรือถ้ามี ฟอร์มให้กรอกข้อมูลจะต้องมี Consent Management หรือ การจัดการฐานความยินยอม อีกทั้งยังต้องมี Privacy Policy เป็นข้อกำหนดการนำข้อมูลไปใช้งานอีกด้วย

ตัวอย่าง การทำ Consent Management บนเว็บไซต์นี้